เมนู

พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.
ก็ทรงระบุถึงภิกษุนั้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ที่เหลือก็เป็นอันทรง
ระบุถึงด้วยเหมือนกัน เหมือนบริษัทที่เหลือถูกระบุถึงด้วยราชศัพท์ในกิจ
ทั้งหลายมีการเสด็จพระราชดำเนินเป็นต้น.
และผู้ใดปฏิบัติข้อปฏิบัตินี้ ผู้นั้น ก็ชื่อว่า ภิกษุ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ เพราะทรงแสดงถึงภิกขุภาวะ. ด้วยข้อปฏิบัติ
บ้าง. ผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม เข้าถึงการนับว่าเป็นภิกษุ
ทั้งนั้น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า
ถึงผู้ที่ประดับประดาแล้ว หากประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
สงบแล้ว ฝึกแล้ว มีคติที่แน่นอน ประพฤติพรหม-
จรรย์ เขาเว้นอาชญาในสัตว์ทั้งมวลเสียแล้ว ย่อม
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.

อธิบายคำว่า กาย


บทว่า กาเย ได้แก่ในรูปกาย. ความจริง รูปกายพระองค์ทรง
ประสงค์ว่า กายในพระสูตรนี้ เหมือนกายช้าง และกายม้าเป็นต้น.
เพราะอรรถว่า เป็นที่รวมของอวัยวะน้อยใหญ่ และของรูปธรรมทั้งหลาย
มีผมเป็นต้น.
ก็ (รูปกาย) ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่ชุมนุม (แห่ง
อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย) ฉันใด ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็น
ที่มาถึง แห่งสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลาย ฉันนั้น.
เพราะว่า รูปกายนั้น เป็นที่มาถึง แห่งสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลาย

คือสิ่งที่น่าขยะแขยงอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ากายบ้าง.
บทว่า อาโย ได้แก่แดนเกิด (ของสิ่งน่าเกลียด) ในบทว่า
กาโยนั้น มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า อายะ เพราะเป็นแดนเกิด.
อะไรเกิด ?
อวัยวะทั้งหลายมีผมเป็นต้น ที่น่าเกลียดเกิด ชื่อว่า กาย เพราะ
เป็นแดนเกิด แห่งสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้.
บทว่า กายานุปสฺสี ได้แก่ผู้พิจารณา เห็นกายเนือง ๆ เป็นปกติ
หรือผู้พิจารณาเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งกาย.
แลควรทราบไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงแม้ตรัสไว้แล้วว่า กาเย
แต่ก็ทรงทำ (ตรัส ) กายศัพท์ไว้เป็นครั้งที่ 2 อีกว่า กายานุปสฺสี
เพื่อจะทรงแสดงถึงการแยกก้อน (ฆนสัญญา) ออกไปด้วยการกำหนด
ด้วยจตุธาตุววัตถานกรรมฐาน โดยไม่ให้ปะปนกัน พระโยคาวจรไม่ใช่
เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในกาย หรือพิจารณาเห็นจิตและธรรมในกาย.
โดยที่แท้แล้ว เป็นผู้พิจารณาเห็นกาย (ในกาย) นั้นเอง. เพราะฉะนั้น
ด้วยบทว่า กายานุปสฺสี นั้น จึงเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ถึงการกำหนดโดยมิให้ปนกัน ด้วยการทรงแสดงเฉพาะอาการคือการ
พิจารณาเห็นกายในวัตถุกล่าวคือกายนั้นเอง.
อนึ่ง ไม่ใช่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมอย่างเอก นอกเหนือไปจาก
อวัยวะน้อยใหญ่ในกาย ทั้งไม่ใช่เป็นผู้พิจารณาเห็นหญิงหรือบุรุษนอกเหนือ
ไปจากผม ขน เป็นต้น ในกาย.

พิจารณากาย


และในคำว่า กาเย กายานุปสฺสี นี้ ไม่ใช่พิจารณาเห็นธรรม
อย่างเอกนอกเหนือจาก (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูป แม้ในกาย
กล่าวคือชุมนุม (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูป มี ผม ขน เป็นต้น.
โดยที่แท้แล้ว ก็เป็นผู้พิจารณาเห็นชุมนุมแห่งองคาพยพ เหมือนผู้มอง
เห็นเครื่องประกอบของรถฉะนั้น เป็นผู้พิจารณาเห็นชุมนุมแห่งผม ขน
เป็นต้น เหมือนผู้เห็นส่วนต่าง ๆ ของตัวเมืองฉะนั้น และเป็นผู้พิจารณา
เห็นชุมนุมแห่ง (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูปนั้นแหละ เหมือนคน
ลอกกาบกล้วยออกจากต้นกล้วยฉะนั้น และเหมือนคนแบกำมือเปล่า
ออกอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้น โดยการทรงแสดงวัตถุ กล่าวคือกาย
ด้วยอำนาจแห่งชุมนุม โดยประการต่าง ๆ นั้นเอง เป็นอันพระองค์ทรง
แสดงกายแยกฆนสัญญาออกไปแล้ว. เพราะว่า ในคำว่า กาเย กายา-
นุปสฺสี
นี้ จะไม่เห็นเป็นกาย เป็นหญิง เป็นชาย หรือเป็นธรรม
อะไรอื่น นอกเหนือไปจากชุมนุมแห่งธรรมตามที่กล่าวแล้ว. แต่สัตว์
ทั้งหลาย ทำความเชื่อมั่นผิด ๆ อย่างนั้นอย่างนั้น ในสภาวะเพียงการ
ชุมนุมธรรมดามที่กล่าวแล้วเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึง
ได้กล่าวไว้ว่า :-
สิ่งใดที่บุคคลเห็นอยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นแล้ว
สิ่งใดที่บุคคลเห็นแล้ว สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นอยู่
เมื่อไม่เห็น (ตามความเป็นจริง) จึงหลงติดอยู่
เมื่อ (หลง) ติดอยู่ ย่อมไม่หลุดพ้น.